วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบความรู้เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

1. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่
ก. มีผลใช้บังคับวันถัดไปจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. มีผลใช้บังคับพ้น 60 วันจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. มีผลใช้บังคับพ้น 90 วันจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. มีผลใช้บังคับพ้น 180 วันจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษ

2. เด็ก หมายความว่าอย่างไร
ก. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
ข. บุคคลที่มีอายุย่างปีที่เจ็ดถึงปีที่สิบหก
ค. ไม่เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
ง. ข้อ ก และ

3. เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมายความว่าอย่างไร
ก. เด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย
ข. เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดู
ค. เด็กที่ประพฤติตนไม่สมคว
ง. ถูกทุกข้อ

4. ข้อใดคือสถานรับเลี้ยงเด็กที่ถูกต้องที่สุด
ก. สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินห้าปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
ข. สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินห้าปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
ค. สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
ง. สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป

5. ข้อใดไม่ใช่ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬ
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

6. ใครเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

7. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติต้องเป็นสตรีจำนวนเท่าใด
ก. ไม่น้อยกว่าหนึ่งคน
ข. ไม่น้อยกว่าสามคน
ค. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสา
ง. ไม่น้อยกว่าสองในสาม

8. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี
ข. 3 ปี
ค. 4 ปี
ง. 5 ปี

9. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นคณะกรรมการ คณะใด
ก. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
ข. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวั
ค. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ข้อ ข และ ค

10. การบังคับ ขู่เข็ญ หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร มีโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรั
ค. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

11. หากครูพบเห็นว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบแต่ไม่รายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ มีโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกินห้าเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12. ผู้ที่ขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปในเคหสถาน กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำทารุณกรรมเด็ก มีโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรั
ค. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

13. ข้อใดไม่ใช่เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์
ก. เด็กชายบีไปตามหาเพื่อนไม่มีค่ารถกลับบ้า
ข. เด็กชายเอกมีผู้ปกครองถูกจำคุก
ค. เด็กชายน้อยต้องดูแลยายที่พิการตามลำพัง
ง. เด็กชายบอยไปเที่ยวงานวัดกับผู้ปกครองแล้วพลัดหลง

14. เด็กชายไก่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์มีร่างกายพิการขาลีบ จะได้รับการสงเคราะห์อีกกี่ปี
ก. ไม่ได้รับการสงเคราะห์ต่อ
ข. ได้รับการสงเคราะห์อีกไม่เกิน 2 ปี
ค. ได้รับการสงเคราะห์อีกไม่เกิน 4 ปี
ง. กี่ปีก็ได้ แต่ไม่เกินอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์

15. เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมีกี่ประเภท
ก. 3 ประเภ
ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท
ง. 6 ประเภท

16. ข้อใดไม่ใช่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
ก. เด็กที่ถูกทารุณกรรม
ข. เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
ค. เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ง. เป็นเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพทุกข้

17. การส่งเด็กไปสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ระหว่างการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสม ให้กระทำได้ไม่เกินกี่วัน
ก. ไม่เกิน 3 วัน ขยายได้อีกไม่เกิน 7 วัน
ข. ไม่เกิน 3 วัน ขยายได้อีกไม่เกิน 15 วัน
ค. ไม่เกิน 7 วัน ขยายได้อีกไม่เกิน 15 วัน
ง. ไม่เกิน 7 วัน ขยายได้อีกไม่เกิน 30 วั

18. ผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา 43 มีโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบา
ข. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ง. จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

19. ผู้ที่จัดตั้งหรือดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยมิได้รับใบอนุญาต มีโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบา
ข. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ง. จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

20. การยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและระเบียบที่กำหนดในกฎกระทรวง มีโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ง. จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบา

21. ใครเป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก
ก. ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ง. ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

22. โรงเรียนต้องจัดให้มีระบบงานใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
ก. ระบบงานคุ้มครองเด็ก
ข. ระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ค. ระบบงานแนะแน
ง. ถูกทุกข้อ

23. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา มีหน้าที่ตามข้อใด
ก. สอบถามครู หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ ของนักเรียน
ข. เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน ว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนฝ่าฝืนระเบียบ
ค. เรียกให้หัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียน
ง. ถูกทุกข้

24. ผู้ที่ไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่มีโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบา
ข. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ง. จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

25. ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กกระทำการเปิดเผยข้อมูลเด็กทำให้เกิดความเสียหายมีโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินห้าเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรั
ค. จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พิเศษสำหรับพี่ๆที่สอบวันเสาร์ที่ 10 มกราคมนี้
ลองทดสอบดูครับ แล้วค่อยเฉลยวันศุกร์ก่อนสอบครับ

1.
การละเมิด คืออะไร
ก. การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย
ข. การกระทำโดยจงใจ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย
ค. การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย
ง. การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ โดยผิดกฎหมายและเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย

2.
พระราชบัญญัติความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตราขึ้นปีใด
ก. 2539
ข. 2540
ค. 2542
ง. 2545

3.
ผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ยื่นฟ้องใคร
ก. กระทรวงยุติธรรม
ข. สำนักนายกรัฐมนตรี
ค. ศาลปกครอง
ง. กระทรวงการคลัง

4.
ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความ ฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปเท่าใด
ก. 6 เดือนนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ข. 9 เดือนนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ค. 1 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ง. 2 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

5.
ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนกระทำละเมิด ให้ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อย่างไร
ก. ให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ
ข. ให้หน่วยงานของรัฐชดใช้
ค. ให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตน
ง. ถูกทุกข้อ

6.
ถ้าหน่วยงานของรัฐได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายแล้ว มีสิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กำหนดอายุความเท่าใด
ก. 6 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ข. 9 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ค. 1 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ง. 2 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม

7.
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐๆมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่กำหนดอายุความเท่าใด
ก. 6 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ข. 9 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ค. 1 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ง. 2 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม

8.
หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ ต่อใคร
ก. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยการละเมิด
ข. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายกระทรวงการคลัง
ง. ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง

9.
การร้องทุกข์ตามข้อ 8 มีกำหนดระยะเวลาใด
ก. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ข. ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ค. ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ง. ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

10.
หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. 60 วัน
ข. 90 วัน
ค. 120 วัน
ง. 180 วัน

11.
หากหน่วยงานของรัฐพิจารณาคำร้องทุกข์ไม่แล้วเสร็จ ให้รายงานใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

12.
รัฐมนตรีตามข้อ 11 มีอำนาจอนุมัติขยายเวลาการพิจารณาร้องทุกข์ได้อีกไม่เกินกี่วัน
ก. 60 วัน
ข. 90 วัน
ค. 120 วัน
ง. 180 วัน

13.
ใครรักษาการพระราชบัญญัติความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. นายกรัฐมนตรี

14.
ใครเป็นผู้กำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิด
ก. กระทรวงยุติธรรม
ข. กรมบัญชีกลาง
ค. ศาลปกครอง
ง. กระทรวงการคลัง

15.
กรณีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง แต่คณะกรรมการได้ดำเนินการผ่านผู้ที่เกี่ยวข้องตามลำดับขั้น ผู้บังคับบัญชาซึ่งอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว ต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 30
ง. ร้อยละ 40

16.
กรณีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง แต่คณะกรรมการไม่ดำเนินการผ่านผู้เกี่ยวข้องตามลำดับขั้น ผู้บังคับบัญชาซึ่งอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว ต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 30
ง. ร้อยละ 40

17.
กรณีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าผู้อื่น
ก. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ
ข. ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
ค. ผู้บังคับบัญชาชั้นกลาง
ง. คณะกรรมการพิจารณาผล

18.
กรณีการก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบรายการ ใครเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าผู้อื่น
ก. คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ข. ผู้ควบคุมงาน
ค. ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
ง. ผู้บังคับบัญชาผู้อนุมัติ

19.
สัดส่วนการรับผิดชอบตามข้อ 18 มีกำหนดร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 30
ง. ร้อยละ 50

20.
กรณีการส่งของไม่ตรงตามสัญญา ซึ่งเจ้าหน้าที่พัสดุและผู้บังคับบัญชาไม่รู้ถึงเหตุดังกล่าว คณะกรรมการตรวจรับต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ทั้งหมด
ข. ร้อยละ 80
ค. ร้อยละ 50
ง. ร้อยละ 40

21.
กรณีไม่นำเงินรายได้เข้าบัญชี เป็นเรื่องที่ผู้เสนอและผู้อนุมัติปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการ ผู้อนุมัติต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ทั้งหมด
ข. ร้อยละ 80
ค. ร้อยละ 50
ง. ร้อยละ 40

22.
กรณีไม่นำเงินรายได้เข้าบัญชีซึ่งผู้อนุมัติเป็นผู้สั่งการ ผู้อนุมัติต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ทั้งหมด
ข. ร้อยละ 80
ค. ร้อยละ 50
ง. ร้อยละ 40

23.
พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก. ๔ มีนาคม ๒๕๕๑
ข. ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ค. ๖ มีนาคม ๒๕๕๑
ง. ๗ มีนาคม ๒๕๕๑

24.
ลูกเสือ หมายถึง ใคร
ก. เด็กและเยาวชนที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา
ข. เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา
ค. เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่าเนตรนารี
ง. เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่าเนตรนารี

25.
ข้อใดไม่ใช่ บุคลากรทางการลูกเสือ
ก. กรรมการลูกเสือ
ข. อาสาสมัครลูกเสือ
ค. เจ้าหน้าที่ลูกเสือ
ง. ผู้ทรงคุณวุฒิลูกเสือ

26.
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ตรงกับวันใด
ก. 1 มิถุนายน
ข. 1 กรกฎาคม
ค. 1 สิงหาคม
ง. 1 กันยายน

27.
ลูกเสือมีกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท
ง. 6 ประเภท

28.
ข้อใดไม่ใช่ประเภทของลูกเสือ
ก. ลูกเสือสามัญ
ข. ลูกเสือสามัญรุ่นเล็ก
ค. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ง. ลูกเสือวิสามัญ

29.
ข้อใดคือ คติพจน์ของลูกเสือสำรอง
ก. Do Our Best
ข. Be prepared
ค. Look wide
ง. Service

30.
ข้อใดคือ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ของ คณะลูกเสือแห่งชาติ ในการพัฒนาลูกเสือ
ก. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
ข. ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ค. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
ง. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ

31.
การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศกระทรวง
ค. ระเบียบกระทรวง
ง. ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

32.
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีฐานะเป็น
ก. ส่วนราชการ
ข. รัฐวิสาหกิจ
ค. องค์การมหาชน
ง. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

33.
ใครมีสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ใครก็ได้ที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง

34.
ใครเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
ข. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ค. ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับมอบหมาย
ง. ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

35.
ข้อใดไม่ใช่กรรมการประเภทผู้แทนในคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด
ก. ผู้แทนค่ายลูกเสือจังหวัด
ข. ผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ
ค. ผู้แทนจากลูกเสือชาวบ้าน
ง. ผู้แทนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

36.
อัตราเงินค่าบำรุงลูกเสือเก็บคนหนึ่งไม่เกินปีละกี่บาท
ก. 5 บาท
ข. 10 บาท
ค. 15 บาท
ง. 20 บาท

37.
เงินค่าบำรุงประจำปีของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือเก็บคนหนึ่งไม่เกินปีละกี่บาท
ก. 5 บาท
ข. 10 บาท
ค. 15 บาท
ง. 20 บาท

38.
จากข้อ 37 การเก็บเงินบำรุงประจำปีจำนวนกี่เดือน ถือว่าเป็นสมาชิกตลอดชีพ
ก. 6 เดือน
ข. 8 เดือน
ค. 10 เดือน
ง. 12 เดือน

39.
การชำระเงินค่าบำรุงประจำปีให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนใดของทุกปี
ก. มิถุนายน
ข. กรกฎาคม
ค. สิงหาคม
ง. กันยายน

40.
ตามข้อบังคับของสมาคมลูกเสือโลก คณะลูกเสือแห่งชาติจะต้องเสียเงินค่าบำรุงให้แก่สำนักงานลูกเสือโลก ตามจำนวนลูกเสือ ในอัตราคนหนึ่งปีละประมาณเท่าไหร่
ก. 50 สตางค์
ข. 100 สตางค์
ค. 150 สตางค์
ง. 200 สตางค์

41.
เงินค่าบำรุงลูกเสือต้องส่งเป็นค่าใช้จ่ายในสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ร้อยละเท่าไหร่
ก. 20
ข. 30
ค. 40
ง. 50

42.
สำนักงานลูกเสือจังหวัดให้จัดตั้ง ณ ที่ใด
ก. ศาลากลางจังหวัด
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตใดเขตหนึ่ง
ง. ตามความเหมาะสม

43.
ข้อใดไม่ใช่ กรรมการประเภทผู้แทนในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ก. ผู้แทนสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
ข. ผู้แทนสถานศึกษาเอกชน
ค. ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา
ง. ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

44.
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษามีไม่เกินกี่คน
ก. 3 คน
ข. 5 คน
ค. 7 คน
ง. 9 คน

45.
ใครเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ก. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ข. หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ค. ศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ง. ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

46.
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำรงตำแหน่งใดในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ข. ประธานคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ค. หัวหน้าสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ

47.
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำดับที่เท่าไหร่
ก. ลำดับที่ 7
ข. ลำดับที่ 8
ค. ลำดับที่ 9
ง. ลำดับที่ 10

48.
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ตรวจการลูกเสือลำดับที่เท่าไหร่
ก. ลำดับที่ 7
ข. ลำดับที่ 8
ค. ลำดับที่ 9
ง. ลำดับที่ 10

49.
ใครเป็นผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. นายกรัฐมนตรี

50.
ผู้ขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ คือ
ก. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 5ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
ข. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 4ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
ค. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 3ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
ง. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง

ฝากพี่ๆรอง อีกชุดครับเอาไปใช้วันที่ 10มกราคมนี้ครับ
อยากลงกฎหมายให้ครบทุกฉบับตามหลักสูตรการสอบ แต่คงไม่ทันครับ (เฉลยเย็นวันศุกร์ทั้ง 2 ชุดนะครับ)

1.
พรบ.กศน.2551ไม่ใช้บังคับ กับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานใด
ก. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
ข. สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
ค. สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน
ง. ข้อ ก และ ข

2.
ข้อใดคือ การศึกษานอกระบบ
ก. กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ตรงตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น
ข. กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ตรงตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้
ค. กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้
ง. กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้

3.
ข้อใดคือ การศึกษาตามอัธยาศัย
ก. กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาสความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
ข. กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามหลักสูตร และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
ค. กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความยืดหยุ่น ตามความต้องการ โอกาสความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
ง. กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามหลักสูตรและความยืดหยุ่นในโอกาสความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

4.
เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
ก. นายสุเมธ แย้มนุ่น
ข. นายธีระ จันทรรัตน์
ค. นายธงทอง จันทรางศุ
ง. นายอภิชาติ จีระวุฒ

5.
ข้อใดคือ หลักการข้อที่ 1 ของ การศึกษานอกระบบ
ก. ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง
ข. การกระจายอำนาจแก่สถานศึกษาและการให้ภาคีเครือข่าย
ค. การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียน
ง. การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.
ข้อใดคือ หลักการข้อที่ 1 ของ การศึกษาตามอัธยาศัย
ก. ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง
ข. การกระจายอำนาจแก่สถานศึกษาและการให้ภาคีเครือข่าย
ค. การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียน
ง. การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

7.
ข้อใดคือ เป้าหมายของการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตามอัธยาศัย
ก. ได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ข. ได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิต
ค. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์และเทียบโอนผลการเรียนกับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
ง. ถูกทุกข้อ

8.
ใครเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับมอบหมาย
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ง. เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

9.
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีกี่คน
ก. 17 คน
ข. 19 คน
ค. 21 คน
ง. 28 คน

10.
ข้อใดไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ก. เลขาธิการสภาการศึกษา
ข. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ค. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. เลขาธิการคุรุสภา

11.
ข้อใดคือ สายด่วน กศน.
ก. 1669
ข. 1660
ค. 1559
ง. 1550

12.
ใครเป็นผู้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

13.
ใครเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย
ค. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
ง. ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด

14.
ใครเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

15.
การประกาศรายชื่อสถานศึกษาตามข้อ 14ให้ประกาศอย่างไร
ก. ประกาศเป็นกฎกระทรวง
ข. ประกาศเป็นประกาศกระทรวง
ค. ประกาศเป็นระเบียบกระทรวง
ง. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

16.
การประกาศรายชื่อสถานศึกษาตามข้อ 14 ให้ประกาศภายในกี่วัน
ก. 30 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ข. 60 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ค. 90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ง. 120 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

17.
เหตุผลในการตราพ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2551 คือ
ก. เพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ข. เพื่อให้มีการประสานกับการศึกษาในระบบ
ค. เพื่อการบริหารงานที่คล่องตัวของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. เพื่อให้มีกฎหมายรองรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

18.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก. 5 กุมภาพันธ์ 2551
ข. 6 กุมภาพันธ์ 2551
ค. 7 กุมภาพันธ์ 2551
ง. 8 กุมภาพันธ์ 2551

19.
ข้อใดคือ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
ก. Individualized Education Plan
ข. Individualized Education Program
ค. Individualized Education Project
ง. Individualized Education Prompt

20.
เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำ IEP คือ
ก. เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป และเด็กที่มีความพร้อมทางการเรียนรู้วิชาการ
ข. เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป และเด็กที่มีความพร้อมทางร่างกายและรับรู้
ค. เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และเด็กที่มีความพร้อมทางการเรียนรู้วิชาการ
ง. เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และเด็กที่มีความพร้อมทางร่างกายและรับรู้

21.
ครูการศึกษาพิเศษ ต้องคุณสมบัติตามข้อใด
ก. มีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปและปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ข. มีวุฒิทางการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ค. มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ง. มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไปและปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

22.
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มีกี่คน
ก. 17 คน
ข. 19 คน
ค. 21 คน
ง. 28 คน

23.
ใครเป็นรองประธานคนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ก. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ
ง. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

24.
ใครเป็นรองประธานคนที่ 2 ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ก. ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ข. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ค. ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคนพิการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ง. ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคนพิการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง

25.
ข้อใดไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ก. เลขาธิการสภา
ข. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. อธิบดีกรมการแพทย์

26.
ข้อใด มีหน้าที่ดำเนินการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
ก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. สำนักงานการศึกษาพิเศษ
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

27.
ใครเป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาพิเศษ

28.
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก. 11 มกราคม 2550
ข. 12 มกราคม 2550
ค. 11 มกราคม 2551
ง. 12 มกราคม 2551

29.
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ไม่บังคับใช้ในข้อใด
ก. สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกิน 7 คน
ข. สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกิน 8 คน
ค. สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกิน 9 คน
ง. สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกิน 10 คน

30.
ใครเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน

31.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนสังกัดหน่วยงานใด
ก. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. สำนักงานสภาการศึกษา
ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. สังกัดกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง

32.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนให้มีกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มขึ้นอีกกี่คน
ก. 1 คน
ข. 2 คน
ค. 3 คน
ง. 4 คน

33.
รายการข้อที่ 1 ของตราสารจัดตั้งโรงเรียนเอกชน คือ
ก. ชื่อ ประเภท ระดับ ของโรงเรียนในระบบ
ข. วัตถุประสงค์
ค. รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน ที่ตั้ง
ง. เงินทุนและทรัพย์สินที่ใช้ในการจัดตั้ง

34.
ข้อใดไม่ใช่รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนเอกชนในระบบ
ก. โครงการและแผนการดำเนินงาน
ข. หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา
ค. อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
ง. เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการทุกข้อ

35.
ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นบุคคลธรรมดา
ก. เชื้อชาติไทย
ข. อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ค. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
ง. เป็นคุณสมบัติทุกข้อ

36.
ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบในแต่ละปีให้จัดสรรเข้ากองทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 30
ง. ร้อยละ 40

37.
โรงเรียนในระบบห้ามหยุดสอนติดต่อกันเกินกี่วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ก. 3 วัน
ข. 5 วัน
ค. 7 วัน
ง. 15 วัน

38.
กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือเป็นคนสาบสูญ ทายาทสามารถยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในกี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 60 วัน
ค. 90 วัน
ง. 120 วัน

39.
การจัดตั้งโรงเรียนเอกชนในระบบโดยไม่ได้รับใบอนุญาต มีโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

40.
การเปลี่ยนแปลงรายการตราสารจัดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต มีโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

41.
การกระทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

42.
การปลอมแปลงเอกสารใบรับรองผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเอกชน มีโทษอย่างไร
ก. จำคุก 6 เดือนถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000บาทถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุก 1- 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000บาทถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุก 6 เดือนถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000บาทถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000บาทถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

43.
หากผู้กระทำผิดตามข้อ 42 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ให้เพิ่มโทษกี่เท่า
ก. 1 เท่า
ข. 2 เท่า
ค. 3 เท่า
ง. 4 เท่า

44.
โรงเรียนเอกชนใดไม่จัดทำเอกสารการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย มีโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 30,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

45.
การยอมให้ผู้อื่นกระทำการที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ มีโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 300,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 500,000 บาท

46.
การหยุดเรียนเกินกว่าที่กำหนดตามข้อ 37 โดยไม่แจ้งผู้อนุญาตทราบ มีโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 30,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

47.
เมื่อมีคำสั่งให้ควบคุมโรงเรียน ผู้รับอนุญาตไม่ส่งมอบทรัพย์สินต่อคณะกรรมการภายใน 7 วัน มีโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ข. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับอีกวันละห้าพันบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ค. ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ง. ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกวันละห้าพันบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน

48.
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ ฉบับละกี่บาท
ก. 2,000 บาท
ข. 3,000 บาท
ค. 4,000 บาท
ง. 5,000 บาท

49.
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ ฉบับละกี่บาท
ก. 2,000 บาท
ข. 3,000 บาท
ค. 4,000 บาท
ง. 5,000 บาท

50.
อัตราค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ ฉบับละกี่บาท
ก. 200 บาท
ข. 300 บาท
ค. 400 บาท
ง. 500 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น